Economics

กระชับแผนพัฒนาอีอีซี เดินหน้าปั้น 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายนำ

อนุมัติแผนพัฒนาอีอีซี ดัน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายลงทุนในพื้นที่  พร้อมติดตามความก้าวหน้าในการทำงาน วางเป้างานสกพอ.เน้นดึงดูดนักลงทุน-ประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ พร้อมวางแผนเตรียมการรองรับการพัฒนา

183339
อุตตม สาวนายน

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประธานได้อนุมัติแผนการทำงานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)  เพื่อทำให้การเดินหน้าพัฒนาพื้นที่ชัดเจนมากขึ้น และเป็นรูปธรรม พร้อมกับติดตามความก้าวหน้าโครงการที่เกี่ยวข้อง

5 โครงการพื้นฐานหลักของอีอีซี ซึ่งเดินหน้าไปตามกำหนดการ ได้แก่

  1. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
  2. โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
  3. โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน อู่ตะเภา
  4. โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3
  5. โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ มีความคืบหน้าตามลำดับ โดยประกาศเชิญชวนเอกชนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 และ มีกำหนดยื่นข้อเสนอในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 คาดว่าจะประกาศผู้ชนะการคัดเลือก และลงนามในสัญญากับเอกชนได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และจะก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการได้ภายในปี 2566

โครงการสำคัญ 4 โครงการ

  1. โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
  2. โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา
  3. โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3
  4. โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 ซึ่งจะประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนคัดเลือกทุกโครงการช่วงเดือนตุลาคม-ต้นเดือนพฤศจิกายน 2561 และลงนามในสัญญากับเอกชนได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562
map train2
โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก

นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เขตฯ อุตสาหกรรม 21 เขต และเขตฯ เพื่อกิจการพิเศษ 4 เขต ในส่วนเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ได้แก่ เมืองการบินภาคตะวันออก เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล และเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

นอกจากนี้ ยังเห็นชอบแผนปฏิบัติการ 4 แผน ได้แก่ แผนการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค แผนการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ และแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ทั้งจะมีการจัดทำแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนอีอีซีตาม พ.ร.บ. งบประมาณฯ พ.ศ. 2562 แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้รับจัดสรรงบประมาณตามร่าง พ.ร.บ. งบประมาณฯ ในปี 2562 จำนวน 14,862.6146 ล้านบาท

สำหรับกิจกรรมชักจูงการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ และความร่วมมือระหว่างประเทศ จะร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการชักจูงการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

cccccccccccccccc

แผนการทำงานสกพอ.3 กลุ่มผลักดันอีอีซี

นายอุตตม กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้เห็นชอบแผนการดำเนินงานของ สกพอ. ในระยะต่อไป แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม หลัก ดังนี้

  • กลุ่มที่ 1 “ดึงการลงทุน” ร่วมกับ บีโอไอ เป้าหมาย 100,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่ง สกพอ. จะจัดทำแผนการดำเนินการเชิงรุกเพื่อบรรลุเป้าหมายการลงทุนดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการหานักลงทุนที่เป็นผู้ประกอบการหลัก (Anchor)ในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ ตามแนวทาง ดังต่อไปนี้
  1. แผนการชักจูงการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย  ซึ่งจะมีคณะกรรมการประสานการลงทุน ที่มีคณะทำงานประกอบด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 6 กลุ่ม ,ประสานการทำงานร่วมกับ บีโอไอ กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานอื่นๆ ตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ,วางแผนโรดโชว์ แบบเจาะลึกตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และเน้นผลสัมฤทธิ์การชักจูงการลงทุนของบริษัทเป้าหมายสำคัญ
  2. จัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค โดยร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ให้แล้วเสร็จตาม ระยะเวลาที่กำหนดใน พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561
  3. พัฒนาศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจรในพื้นที่ อีอีซี เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ ผู้ประกอบการ นักลงทุนในพื้นที่อีอีซีให้ศูนย์บริการที่มีความทันสมัย รวดเร็ว สะดวก และมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยของระบบข้อมูลในการติดต่อธุรกิจ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
  4. จัดตั้งกองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อการพัฒนาพื้นที่หรือชุมชน รวมตลอดทั้งช่วยเหลือ หรือเยียวยาประชาชนและชุมชนบรรดาที่อาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก แลtสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาและให้ทุนการศึกษาแก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือที่อยู่ใกล้เคียงและได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

vbvv

  • กลุ่มที่ 2 การประชาสัมพันธ์เชิงพื้นที่ โดย“เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน” ซึ่งสำนักงานฯ จะประชาสัมพันธ์ เพื่อขยายตลาดการลงทุน ทั้งจากในและต่างประเทศ และสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ร่วมเป็นเจ้าของ และร่วมได้รับประโยชน์จากโครงการ
  • กลุ่มที่ 3 วางแผนอนาคต รองรับการพัฒนา ประกอบด้วย
  1. ขยายพื้นที่ อีอีซี นอกจาก 3 จังหวัด
  2. ประกาศอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษเพิ่มเติม
  3. เตรียมการพัฒนาเมืองใหม่อัจฉริยะน่าอยู่ เมืองศูนย์กลางการเงิน และ Aerotropolis หรือเมืองที่มีสนามบินเป็นศุูนย์กลางในการพัฒนา
  4. พัฒนาแรงงานคุณภาพสูง ซึ่งจะมีการประสานกับ กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงแรงงาน และกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น
  5. จัดทำแผนพัฒนารายสาขา เช่น สาธารณูปโภค สาธารณูปการ สาธารณสุข เกษตร สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

10 อุตสาหกรรมเป้าหมายรับอีอีซี

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้กำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี จำนวน 10 อุตสาหกรรม สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประกอบด้วย

  1. ยานยนต์สมัยใหม่
  2. อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  3. การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
  4. การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
  5. การแปรรูปอาหาร
  6. หุ่นยนต์
  7. การบินและโลจิสติกส์
  8. เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
  9. ดิจิทัล
  10. การแพทย์และสุขภาพครบวงจร

Avatar photo