Environmental Sustainability

เยือนโรงงานเอ็นวิคโค เครือ GC ชมเทคโนโลยีรีไซเคิลพลาสติกระดับโลก

เอ็นวิคโค เครือ GC เปิดโรงงานโชว์เทคโนโลยีการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง มาตรฐานระดับโลก ผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ

จากนโยบายของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อร่วมแก้ไขวิกฤติภาวะโลกร้อน และสร้างสมดุลอย่างยั่งยืน นำไปสู่การร่วมทุนจัดตั้งบริษัท เอ็นวิคโค จำกัด ขึ้น เพื่อเติมเต็มห่วงโซ่คุณค่าด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างครบวงจร

11

บริษัท เอ็นวิคโค จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง พีทีที โกลบอล เคมิคอล กับบริษัท แอลพลา จำกัด (ALPLA) ผู้นำระดับโลกในธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติกและพลาสติกรีไซเคิล เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ระดับ Food Grade มาตรฐานระดับโลก ใช้งบประมาณลงทุน 2,000-3,000 ล้านบาท และเริ่มผลิตแล้วเมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา

C6D27EA7 6B87 430E BDB0 A84BA6E7104B
ณัฐนันท์ ศิริรักษ์

นายณัฐนันท์ ศิริรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นวิคโค จำกัด ให้เกียรตินำสื่อมวลชน เยี่ยมชมโรงงาน พร้อมทั้งเล่าว่า โรงงานของเอ็นวิคโค มีกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลสูงถึง 4.5 หมื่นตัน/ปี แบ่งเป็น เม็ดพลาสติก ชนิด rPET หรือเม็ดพลาสติกรีไซเคิลจากขวด PET จำนวน 3 หมื่นตัน/ปี และเม็ดพลาสติก ชนิด rHDPE ชนิดขวดขุ่นนำมารีไซเคิล จำนวน 1.5 หมื่นตัน/ปี

ENVICCO 1

จากกำลังการผลิตดังกล่าว หากเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิต จะช่วยลดขยะพลาสติกในประเทศไทย ได้ถึง 6 หมื่นตัน/ปี ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 7.5 หมื่นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี เทียบเท่าการปลูกป่าประมาณ 78,000 ไร่ หรือ ปลูกต้นไม้ใหญ่กว่า 8.32 ล้านต้น นับเป็นการปฏิวัติการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

ENVICCO 2

สำหรับวัตถุดิบทั้งหมด 100% ที่นำมารีไซเคิล เป็นพลาสติกใช้แล้วในประเทศ ผ่านเทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำสมัย เพื่อคืนคุณค่าให้กับพลาสติกใช้แล้ว ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าอีกครั้ง และมีคุณสมบัติเทียบเท่าพลาสติกใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจากยุโรปที่ล้ำสมัย และมีระบบควบคุมคุณภาพตลอดกระบวนการผลิต

นายณัฐนันท์ เล่าว่า เทคโนโลยีที่ใช้เป็นเทคโนโลยีเดียวกับที่ยุโรปใช้ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผลิตภัณฑ์ และสิ่งที่ไทยยังไม่มีคือ เม็ดพลาสติกที่รีไซเคิลจากขวด PET เพื่อนำกลับไปผลิตเป็นขวด PET สำหรับบรรจุเครื่องดื่มได้อีกครั้ง หรือ เม็ดพลาสติก ชนิด rPET โดยอยู่ระหว่างการขออนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งคาดว่าจะได้รับการอนุมัติภายในไตรมาสแรกปี 2566

S 4112404

ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีขวด PET ประมาณ 4 แสนตันต่อปี สามารถนำกลับมารีไซเคิลประมาณ 3 แสนตัน ส่วนใหญ่นำกลับไปใช้ผลิตเป็นเสื้อผ้า สิ่งทอ เนื่องจากที่ผ่านมา ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้ผลิตกลับไปเป็นขวดบรรจุน้ำดื่ม ดังนั้น คาดว่า หากได้รับการอนุมัติจาก อย. จะทำให้เกิดการใช้เม็ดพลาสติก ชนิด rPET เพิ่มมากขึ้น

ด้านกระบวนการผลิต หลังจากนำขวดพลาสติกใช้แล้วเข้าสู่โรงงาน จะผ่าน QC สุ่มตรวจเพื่อป้องกันวัตถุดิบอื่นนอกจากพลาสติก จากนั้นนำไปแตกก้อนเป็นชิ้น ๆ และผ่านเครื่องลอกฉลาก ตามด้วยเครื่องอินฟราเรด เพื่อบอกชนิดของโพลิเมอร์ที่ใช้ในการผลิต เพื่อเลือกเฉพาะขวด PET

309F57BF 0B62 48CF A72E B940513F328A

นอกจากนี้ ยังเลือกสีขวดที่ต้องการได้ จากนั้นผ่านการตรวจโดยคนอีกครั้ง เพื่อให้ได้เฉพาะพลาสติกที่ต้องการ นำไปบดเป็นชิ้นเล็ก ล้างน้ำร้อน น้ำเย็น เข้าสู่ขั้นตอนการจมลอยเพื่อแยกฝา ตามด้วยการแยกสิ่งปนเปื้อนอีกครั้ง เพื่อให้เหลือเฉพาะพลาสติก ซึ่งขั้นตอนนี้จะขจัดสิ่งสกปรกที่ติดมา และขั้นตอนสุดท้ายคือ การแยกสิ่งปนเปื้อนในเนื้อพลาสติกออก ตามด้วยการอบร้อนอีกครั้ง เพื่อให้ได้พลาสติกที่สะอาดอย่างแท้จริง

ENVICCO 4 1

ทั้งนี้ ENVICCO นับเป็นหนึ่งในแผนกลยุทธ์ระยะยาวของ GC ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่จะทำให้ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ครบสมบูรณ์ และยังช่วยให้เกิดการสร้างงานในชุมชน ตอบโจทย์ BCG Model (Bio-Circular-Green Economy Model) ของประเทศไทยอีกด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo