POLITICS-GENERAL

โพลล์เสียงคนกรุง เทใจ ‘พรรคก้าวไกล’ ยังไม่มีคนเหมาะสม ‘นายกรัฐมนตรี’

โพลล์เสียงคนกรุง เทใจ “พรรคก้าวไกล” เลือกพรรคการเมืองให้ความสำคัญเศรษฐกิจ ยังไม่มีคนเหมาะสม“นายกรัฐมนตรี” 

ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก่อนการรับสมัครการเลือกตั้ง โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,157 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 29-31 มีนาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

เลือก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ พบว่า

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ทราบว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้จะมีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต และบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ร้อยละ 81.8

กลุ่มตัวอย่างคิดว่าจะตัดสินใจในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งแบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ จากพรรคการเมืองเดียวกัน ร้อยละ 74

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่านโยบายที่อยากให้พรรคการเมืองให้ความสำคัญมากที่สุด อันดับ 1 คือ ด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ ร้อยละ 26.9 อันดับที่ 2 คือ ด้านการศึกษาและคุณภาพชีวิต ร้อยละ 17 อันดับที่ 3 คือ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 15.7 อันดับที่ 4 คือ ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 10.6 และอันดับที่ 5 คือ ด้านศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาสังคม ร้อยละ 10.5

อยากได้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต ที่มีคุณสมบัติแบบใด อันดับ 1 คือ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 23.2 อันดับที่ 2 คือ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีประวัติการศึกษาและการทำงานอย่างมากมาย ร้อยละ 22 อันดับที่ 3 คือ ผู้ที่มีความเสียสละเพื่อสังคม ทำงานเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 21.1 อันดับที่ 4 คือ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่และทำงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 20.4 และอันดับที่ 5 คือ ผู้ที่เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร / ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ร้อยละ 8

อยากได้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ที่มีคุณสมบัติแบบใด อันดับ 1 คือ ผู้ที่มีความเสียสละเพื่อสังคม ทำงานเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 31.8 อันดับที่ 2 คือ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีประวัติการศึกษาและการทำงานอย่างมากมาย ร้อยละ 27 อันดับที่ 3 คือ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 25.1 อันดับที่ 4 คือ ผู้ที่เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ร้อยละ 10.5 และอันดับที่ 5 คือ ผู้ที่เป็นลูกหลาน ตระกูลนักการเมือง ร้อยละ 3

คิดว่าปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งครั้งนี้มากที่สุด อันดับ 1 คือ นโยบายของพรรคการเมือง ร้อยละ 35.3 อันดับที่ 2 คือ พรรคการเมือง ร้อยละ 27.3 อันดับที่ 3 คือ ตัวผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 17.1 อันดับที่ 4 คือ การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 12.4 และอันดับที่ 5 คือ ไม่แน่ใจ / ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 7.9

QNBVISZFRYU02

คิดว่าตัดสินใจเลือกผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต จากพรรคการเมืองใด อันดับ 1 คือ พรรคก้าวไกล ร้อยละ 25.8 อันดับที่ 2 คือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 17.1 อันดับที่ 3 คือ ไม่แน่ใจ / ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 11.1 อันดับที่ 4 คือ พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 9.5 และอันดับที่ 5 คือ พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 8.3

คิดว่าตัดสินใจเลือกผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ จากพรรคการเมืองใด อันดับ 1 คือ พรรคก้าวไกล ร้อยละ 24.5 อันดับที่ 2 คือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 16.1 อันดับที่ 3 คือ ไม่แน่ใจ / ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 13.4 อันดับที่ 4 คือ พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 8.9 และอันดับที่ 5 คือ พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 8

คิดว่าบุคคลใดเหมาะสมกับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมากที่สุด อันดับ 1 คือ ยังไม่ตัดสินใจ/ยังไม่มีคนเหมาะสม ร้อยละ 26.7 อันดับที่ 2 คือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 18.2 อันดับที่ 3 คือ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 12.5 อันดับที่ 4 คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 7.9 และอันดับที่ 5 คือ นายเศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 6.6

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo