POLITICS-GENERAL

การเลือก สว. ชุดใหม่ ที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน หนึ่งเดียวของโลก อิสระ หรือ บล็อกโหวต

การเลือก สว. ชุดใหม่ที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน หนึ่งเดียวของโลก อิสระ หรือ บล็อกโหวต

กกต.มีมติเอกฉันท์ไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองที่ให้เพิกถอนระเบียบแนะนำตัวในการเลือก สว. 5 ข้อ โดยให้เหตุผลว่า “ไม่เกิดประโยชน์กับใครทั้งสิ้น” และจะไม่มีการแก้ไขระเบียบใด ๆ

โหวต

หลังการรับสมัครสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดใหม่ 200 คน ผ่านพ้นไปเมื่อ 20-24 พฤษภาคม 2567 มียอดการสมัคร 48,117 ต่ำกว่าเป้าหมายที่กกต.คาดการณ์ว่าจะมีผู้สมัครไม่ต่ำกว่า 100,000 คน ต่อไปก็จะเข้าสู่ระบบการเลือกตั้งที่สลับซับซ้อน ครั้งแรกของไทยและของโลก

รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้ใช้ระบบ “เลือกกันเอง” ของแต่ละกลุ่มอาชีพรวม 20 กลุ่ม และ “เลือกแบบไต่ระดับ” จากระดับอำเภอ สู่ระดับจังหวัด และระดับประเทศ โดยแต่ละระดับ มี 2 รอบ รอบแรก ให้เลือกคนที่อยู่ในกลุ่มอาชีพเดียวกัน ได้ผู้ได้รับเลือกขั้นต้น 5 คน และรอบสอง ให้แบ่งสาย “เลือกไขว้” กลุ่มอาชีพอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน เมื่อผ่านครบ 3 ระดับ สุดท้ายจะได้ชื่อ 10 อันดับแรกของแต่ละกลุ่ม เป็น สว. ชุดใหม่รวม 200 คน (สำรอง 100 คน)

ระบบนี้นำมาใช้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยและโลก แม้แต่ แสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. ก็ยังออกปากยอมรับว่าการเลือก สว. ตามรัฐธรรมนูญเรา “ซับซ้อนที่สุดในโลก” และรู้สึก “ลำบากใจแทนผู้สมัคร… ถ้าไม่ดีจริงก็คงผ่านยาก” สมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 13 นับว่ามีที่มาที่แตกต่าง ซับซ้อน และชวนปวดหัว มากกว่าชุดอื่นๆ ในอดีตมาก เพราะครั้งนี้ไม่ใช่ทั้งการเลือกตั้งทางตรง หรือแต่งตั้งกันเองเหมือนปกติที่ผ่านมา แต่เป็นการให้ผู้สมัคร สว. ทำการเลือกกันเอง

ส่วนคำสั่งศาลปกครองที่ให้เพิกถอนระเบียบแนะนำตัวในการเลือก สว. 5 ข้อ โดยให้เหตุผลว่า “ไม่เกิดประโยชน์กับใครทั้งสิ้น” และจะไม่มีการแก้ไขระเบียบใด ๆผู้สมัคร สว. ทุกคนสามารถแนะนำตัวตามระเบียบ กกต. ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือก สว. พ.ศ. 2567 (เฉพาะข้อที่ศาลไม่สั่งเพิกถอน) และระเบียบ กกต. ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือก สว. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 (เฉพาะข้อที่ศาลไม่สั่งเพิกถอน) ควบคู่ไปกับคำพิพากษาศาลปกครอง “อะไรที่ปฏิบัติได้ก็อยู่ตามที่ กกต. ออกระเบียบอยู่แล้ว “

S 22126664

นายอุทัย อัตถาพร อดีตนายกสมาคมเสริมสร้างพัฒนาชุมชนและสังคม เสนอตัวลงสมัคร สว. กลุ่มกลุ่มที่ 7 พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานรัฐ โดยลงสมัครที่ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ด้วยความฝันจะเห็น สว. ที่ไม่สืบทอดอำนาจ กลั่นกรองกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หากได้เข้าสภาสูง อุทัย ตั้งใจจะทำภารกิจคือ ยกมือให้การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง, ร่วมกลั่นกรองกฎหมายบนหลักการประชาธิปไตย, ตรวจสอบการทำงานของ สส. และให้ความเห็นชองการเลือกผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระที่เห็นคุณค่าสิทธิมนุษยชน เสรีภาพ และความเป็นธรรม

87859991 5F72 4A57 879B A56E6922F065

ส่วนกรณีที่มีผู้สมัครน้อยคนของแต่ละกลุ่มอาชีพ แต่ละอำเภอนั้นพ.ร.ป.สว. มาตรา 40 ระบุถึงขั้นตอนการเลือกระดับอำเภอ โดยกำหนดให้ผู้สมัครต้อง “เลือกกันเอง” ในกลุ่มอาชีพเดียวกันให้เหลือ 5 คน เป็นผู้ได้รับเลือกขั้นต้น แล้วไปจับสลากแบ่งสาย “เลือกไขว้” เพื่อลงคะแนนให้ผู้สมัครกลุ่มอื่น ๆ และเลือกให้เหลือ 3 คน

หากกลุ่มใดมีผู้สมัครในระดับอำเภอไม่เกิน 5 คน ก็ไม่ต้อง “เลือกกันเอง” ผู้สมัครทุกคนเป็นผู้ได้รับเลือกขั้นต้น และผ่านเข้าสู่รอบ “เลือกไขว้” ได้เลย

แต่ในรอบ “เลือกไขว้” กฎหมายไม่ได้เขียนว่า หากกลุ่มใดมีผู้สมัครในระดับอำเภอไม่เกิน 3 คน สามารถผ่านไประดับจังหวัดได้ทันที ตรงกันข้าม แม้มีผู้สมัครคนเดียว หรือ 2 คน หรือ 3 คน มาตรา 40 (12) บังคับว่า ต้องไปเลือกไขว้ และ “ในกรณีที่มีผู้ได้คะแนนไม่ถึง 3 คน ให้เฉพาะผู้ซึ่งได้คะแนนเป็นผู้ได้รับเลือก” นั่นหมายความว่า ในรอบเลือกไขว้ ผู้ที่จะผ่านเข้ารอบต้องได้อย่างน้อย 1 คะแนน แม้ผู้สมัครในกลุ่มนั้น ๆ จะน้อยกว่า 3 คนก็ตาม แต่หากผู้สมัครคนใดไม่ได้คะแนนเลย ก็จะไม่ผ่านเข้าไปในรอบจังหวัด….

จากความสลับซับซ้อนในทุกขั้นตอนตั้งแต่ก่อนสมัคร ไปจนถึงเลือกระดับอำเภอ วันที่ 9 มิถุนายน เลือกระดับจังหวัด 16 มิถุนายน และในระดับประเทศ 26 มิถุนายน ก็อาจจะยังไม่จบง่ายๆจะสามารถประกาศผลรายชื่อสว.200 คนในเดือนกรกฎาคม ได้หรือไม่ ต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด

S 22126663

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo