COVID-19

โควิดยังหนัก! ‘หมอธีระ’ ชี้ยอดป่วยนอนรพ. ลดลง 36.7% แต่ตายเพิ่มขึ้น 71%

โควิดยังหนัก! “หมอธีระ” เผยยอดผู้ป่วยโควิดรอบสัปดาห์ 1,823 ราย เสียชีวิต 12 ราย เตือน!! ยอดป่วยนอนโรงพยาบาลลดลง 36.7% แต่ตายเพิ่มขึ้น 71% คาดยอดติดเชื้อต่อวันอยู่ที่ 13,022-18,086 ราย

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุ วิเคราะห์การระบาดของไทย สัปดาห์ล่าสุด 16-22 มิถุนายน 2024 จำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 1,823 ราย เสียชีวิต 12 ราย ปอดอักเสบ 732 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 347 ราย

โควิด

…ป่วยจนต้องนอนรพ.ลดลง 36.7% แต่ตายเพิ่มขึ้น 71% ปอดอักเสบลดลง 2.1% และใส่ท่อเพิ่มอีก 2.4%
หากเทียบเวลานี้ของปีนี้กับปีที่แล้ว ผู้ป่วยนอนรักษาตัวในรพ.เยอะกว่าปีก่อน 10.3% ส่วนปอดอักเสบ มากกว่าปีก่อนถึง 2.7 เท่า และใส่ท่อช่วยหายใจมากกว่าปีก่อน 2.1 เท่า

จำนวนผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ ถือว่าสูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่ง นับตั้งแต่ปลายธันวาคม 2022 เป็นต้นมา

….คาดประมาณจำนวนคนติดเชื้อใหม่ต่อวันอย่างน้อย 13,022-18,086 ราย

ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการระบาดดูจะใช้ได้ดีในการประเมินสถานการณ์ ดังที่ได้เคยบอกไว้ก่อนหน้านี้ว่าระลอกนี้จะพีคในช่วงสองสัปดาห์แรกของมิถุนายน

ไทยเราพีคระลอก JN.1 ไปเมื่อ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา

สัปดาห์ล่าสุดจำนวนป่วยนอนรพ.ลดลง สะท้อนว่าน่าจะเป็นช่วงเริ่มขาลง แต่ไม่ควรประมาท คงต้องติดตามต่อว่ายังลงต่อเนื่องในสัปดาห์ถัดไปหรือไม่ จึงจะมั่นใจขึ้น

ในขณะที่จำนวนปอดอักเสบและใส่ท่อช่วยหายใจนั้นจะยังคงสูงต่อไปได้อีกระยะ โดยเป็นการเหลื่อมเวลาจากธรรมชาติของโรคในผู้ป่วย

โควิด

ถามว่าจะเป็นอย่างไรต่อ?

เหลียวซ้ายแลขวาตอนนี้ KP.2, KP.3, LB.1 นั้นเป็นสายพันธุ์ลูกหลานของ JN.1 ที่กำลังแข่งกันระบาดทั่วโลก แต่ด้วยข้อมูลที่มีในมือปัจจุบัน ทั้งสามตัวนี้ไม่ใช่สายพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดที่เรียกว่า Saltation evolution แบบ XBB หรืออื่นๆ ที่จะสร้าง surprise ได้มากนัก

คาดว่าสถานการณ์ของไทยเรา จะเป็นช่วงขาลง (แต่ย้ำว่ายังมีโรคชุกชุม) ไปอีกราว 6-8 สัปดาห์ถึงต้นเดือนสิงหาคม จากนั้นน่าจะเป็น grace period ระดับ baseline ไปราว 2-3 เดือน

โดยช่วงไตรมาสสุดท้ายน่าจะเริ่มเห็นว่ามีสายพันธุ์ใหม่ใดที่นำไปสู่ระลอกเทศกาล ซึ่งอาจไม่ใช่สามตัวข้างบนก็เป็นได้ คงต้องติดตามกันต่อไป

การใช้ชีวิตประจำวันโดยป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดเสี่ยงไปได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าจะระลอกใดสายพันธุ์ใด

ระวังที่แออัด การคลุกคลีใกล้ชิดโดยไม่ป้องกันตัวเป็นระยะเวลานาน เลี่ยงการแชร์ของกินของใช้กับผู้อื่น รักษาความสะอาด รวมถึงการมี symptom awareness ดังที่เคยแนะนำไป ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของเราครับ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK