General

‘พิธา’ กาง 9 ข้อ 3 หมวดหมู่ สู้คดี ‘ยุบพรรคก้าวไกล’ ไร้เจตนาล้มล้าง

“พิธา” กาง 9 ข้อ 3 หมวดหมู่ สู้คดี “ยุบพรรคก้าวไกล” ยันไม่มีเจตนาล้มล้าง-เป็นปฏิปักษ์

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 9 มิถุนายน 2567 ที่พรรคก้าวไกล นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคก้าวไกล แถลงข้อต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล ว่า จุดประสงค์ของการแถลงเพื่อเน้นข้อเท็จจริงของข้อกฎหมายและคดี เพื่อสอดคล้องกับสิ่งที่เป็นข้อกังวลของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะแบ่งเป็น 9 ข้อต่อสู้ 3 หมวดหมู่

แถลง

หมวดหมู่ที่ (1.) เขตอำนาจและกระบวนการ 1. ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเขตอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ 2. กระบวนการยื่นคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

หมวดหมู่ที่ (2.) ข้อเท็จจริง 3. คำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 ไม่ผูกพันการวินิจฉัยคดีนี้ 4. การกระทำที่ถูกกล่าวหา ไม่ล้มล้าง ไม่อาจเป็นปฏิปักษ์ 5. การกระทำตามคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 ไม่ได้เป็นมติพรรค

ภาพถ่ายหน้าจอ 2567 06 09 เวลา 12.13.38

หมวดหมู่ที่ (3) สัดส่วนโทษ 6. โทษยุบพรรคต้องเป็นมาตรการสุดท้ายเมื่อจำเป็น ฉุกเฉิน ฉับพลัน และไม่มีวิธีแก้ไขอื่น 7. ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 8. จำนวนปีในการตัดสิทธิทางการเมือง ต้องได้สัดส่วนกับความผิด 9. การพิจารณาโทษต้องสอดคล้องกับชุดกรรมการบริหารพรรคในช่วงที่ถูกกล่าวหา

เมื่อถามว่าในข้อต่อสู้มีข้อไหนที่ไม่มั่นใจ นายพิธา กล่าวว่า มั่นใจทุกข้อทั้ง 9 ข้อ แต่ละข้อก็เหมือนด่าน บันไดที่ใช้ต่อสู่ตั้งแต่ของเขตอำนาจของศาล จนถึงบทลงโทษกรรมการบริหาร แต่เรายังเชื่อว่าทั้งเจตนา และการกระทำของ สส.ในการเข้าชื่อแก้กฎหมาย ไม่ได้เป็นการล้มล้าง และไม่อาจเป็นปฏิปักษ์ รวมถึงการกระทำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเป็นนายประกัน สันนิฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อน การที่มีผู้ต้องหามาตรา 112 เป็นสมาชิกพรรค เป็น สส.ก็ยังไม่สิ้นสุดคดี รวมถึงการแสดงออกเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 ก็กระทำทั่วไปโดยนักการเมืองในตอนนั้น โดยสภาพบังคับที่มีเรื่องเกี่ยวข้องอยู่แล้ว

“สุดท้ายการกระทำทุกอย่างเป็นเรื่องของรายบุคคลที่ขยุมรวมกันเป็นข้อกล่าวหา ไม่ได้มาจากมติพรรค ไม่ได้เป็นเรื่องของนิติบุคคล แต่เป็นเรื่องของปัจเจก ไม่ได้มีความเห็นที่ออกมาจากกรรมการบริหารว่าทั้งหมดเป็นการกระทำของพรรค ต้องแยกระหว่างบุคคลธรรมดากับนิติบุคคล นั้นต่างกัน ซึ่งที่มีเป็นมติของพรรคออกมาคือการบรรจุเป็นนโยบายหาเสียง แต่ไม่อาจเป็นปฏิปักษ์ได้ เพราะกกต.เองก็อนุญาต  หลักเดียวกับตอนที่ยุบพรรคไทยรักษาชาติ ก็ไม่ได้มีจดหมายเตือน ไม่มีคำถามมาว่านโยบายนี้มีที่มาที่ไปอย่างไรอย่างที่พรรคอื่นโดน” นายพิธา กล่าว

นายพิธา กล่าวว่า ยืนยันตรงนี้ว่าไม่ได้มีเจตนา และไม่มีข้อกฎหมายที่เอาผิดทั้ง 44 คน ที่เข้าชื่อในการแก้ไขกฎหมาย ไม่ได้เกิดขึ้นจริง และไม่ได้เข้าสภา และถึงแม้จะได้เข้าสภา ระบบนิติบัญญัติก็มีการเช็คแอนด์บาลานซ์เบรคในตัวเองอยู่ จะเบรคโดยกกต.ก็ได้ จะเบรคโดยสภาในการโหวตวาระ 1, 2, 3  หรือขั้น สว. และยังมีเวลาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในตอนสุดท้าย เพราะฉะนั้นไม่มีความเร่งด่วนสำคัญอะไรที่ต้องใช้มาตรการรุนแรงอย่างนี้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo