General

รู้จักหัวใจวายเฉียบพลัน สุดอันตราย หลังนักแบดวัย 17 เสียชีวิตขณะแข่งขัน

รู้จักหัวใจวายเฉียบพลัน สุดอันตราย หลังนักแบดจีนวัย 17 เสียชีวิตขณะแข่งขัน

หลังจากเพจเฟซบุ๊ก บ้าแบด – Badminton Blah Blah ได้นำเสนอเรื่องราวของการแข่งขัน BNI Badminton Asia Junior Championships 2024 ประเภททีมรอบก่อนรองชนะเลิศ ซึ่งเป็นการพบกันระหว่าง Zhi Jie Zhang นักแบดจากจีน กับ คาซูมะ คาวาโนะ จากญี่ปุ่น

หัวใจวายเฉียบพลัน

ขณะกำลังแข่งขันอยู่ในเกมแรก Zhi Jie Zhang นักแบดเยาวชนจีนกำลังเสิร์ฟลูก ก็ได้ล้มลงหน้าคว่ำ ก่อนมีอาการชัก สร้างความตกใจกบคนทั้งสนาม และต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน ต่อมาได้เสียชีวิต คาดว่าเกิดจากอาการหัวใจวายเฉียบพลันในสนามแข่งขัน

สำหรับ Zhi Jie Zhang วัย 17 ปี ถือเป็นดาวรุ่งที่กำลังขึ้นมาเสริมทัพ ทีมชาติจีนชุดใหญ่ โดยเพิ่งคว้าแชมป์ รายการ Yonex German Junior 2024 และ Dutch Junior Inter ในปีเดียวกัน , ส่วนปี 2013 คว้าแชมป์เยาวชนเอเชีย รุ่นไม่เกิน 15-17 ปี

449509330 1005642534897088 5601585179171531737 n

หลายคนอาจจะสงสัยเป็นนักกีฬาสุขภาพร่างกายแข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และอายุยังน้อยเพียง 17 ปีเท่านั้น จะมีอาการหัวใจวายได้อย่างไร ซึ่งในเรื่องนี้ โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า แม้การเสียชีวิตจากโรคหัวใจในนักกีฬาจะพบได้น้อยมาก โดยในช่วง 10 – 20 ปีที่ผ่านมาพบเพียง 1 ใน 50,000 – 1 ใน 300,000 ราย

สาเหตุที่ทำให้นักกีฬาเสียชีวิต หรือ Sudden Cardiac Death (SCD) มักเกิดจากปัญหาของหัวใจ จากการรวบรวมข้อมูลการเสียชีวิตของนักกีฬาอายุน้อย (<35 ปี) ในประเทศสหรัฐอเมริกามากกว่า 1,400 รายพบว่า

  • 36% มีสาเหตุมาจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ (Hypertrophic Cardiomyopathy)
  • 17% มีสาเหตุมาจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ (Anomalous Origin of A Coronary Artery)
  • 4% มีสาเหตุมาจากระบบนำคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ

นอกจากนั้นก็เป็นสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้นักกีฬาเกิดอาการหน้ามืด ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอกก่อนจะเสียชีวิตลง ในปัจจุบันมีการตรวจสุขภาพหัวใจด้วยเทคโนโลยีที่ถูกต้องชัดเจนมากขึ้น ซึ่งสามารถตรวจคัดกรองสาเหตุดังกล่าวได้จำนวนเกินครึ่งของสาเหตุที่ทำให้นักกีฬาที่เสียชีวิตโดยที่ไม่เคยมีอาการเตือนมาก่อน

กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ

หากกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจะมีผลกระทบต่อการบีบตัวของหัวใจ ซึ่งทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตนำออกซิเจนไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมอง ซึ่งกลุ่มโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่ทำให้เกิดปัญหาในนักกีฬามักเป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ (Hypertrophic Cardiomyopathy) ในแง่ของการวินิจฉัยแพทย์ต้องอาศัยข้อมูลหลายด้านมาประกอบกัน เพราะในนักกีฬาที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอก็มีการหนาตัวขึ้นของกล้ามเนื้อหัวใจโดยที่ไม่เป็นโรคได้เช่นกัน ซึ่งการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ หรือ Echocardiogram โดยทีมแพทย์โรคหัวใจที่มีความชำนาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา (Sport Cardiologist) จะช่วยประเมินสภาพกล้ามเนื้อหัวใจ แรงบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ และวินิจฉัยพยาธิสภาพต่าง ๆ ของนักกีฬาได้

ป้องกันนักกีฬาเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

สิ่งสำคัญในการป้องกันการเสียชีวิตของนักกีฬาจากโรคหัวใจ คือ การตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจของนักกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาที่มีโปรแกรมการแข่งขันหรือต้องฝึกซ้อมอย่างหนักต่อเนื่อง โดยการคัดกรองปัญหาของหัวใจนั้นต้องพิจารณาจากประวัติของนักกีฬาระหว่างการเล่นกีฬามาก่อน เช่น หน้ามืด หมดสติ ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก เป็นต้น การตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ หรือ Echocardiogram เพื่อประเมินความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ

AED ช่วยชีวิตนักกีฬาระหว่างการแข่งขัน

AED – Sudden cardiac arrest emergency bags to be sent worldwide by FIFA ปัจจุบันมีอุปกรณ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ Automated External Defibrillator หรือที่มีชื่อย่อว่า เครื่องเออีดี (AED) ซึ่งหลักการจะคล้ายกับเครื่องกระตุ้นหัวใจที่ใช้ในโรงพยาบาล เครื่อง AED มีขนาดเล็ก สามารถติดตั้งและเคลื่อนย้ายได้ง่าย การใช้งานจะมีแผ่นนำไฟฟ้ามาแปะไว้ที่ทรวงอกของผู้ป่วย จากนั้นเครื่องจะวิเคราะห์ข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ตรวจพบแล้ว โดยจะบอกทันทีว่าผู้ป่วยมีการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะหรือไม่ มีเสียงพูดออกมาชัดเจน หากจำเป็นต้องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าก็สามารถทำได้ง่ายเพียงกดปุ่มที่เครื่อง บุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่แพทย์หรือพยาบาลแต่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วสามารถใช้เครื่องนี้ได้ ปัจจุบันในสนามบินนานาชาติทุกแห่ง รวมทั้งสนามกีฬานานาชาติชั้นนำมักจะมีเครื่องนี้ติดตั้งกันไว้แล้ว

ขอบคุณข้อมูล โรงพยาบาลกรุงเทพ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo